วิธีการถนอมเกียร์รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนของการถนอมรักษาเกียร์รถยนต์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานและการทำงานของระบบเกียร์ทั้งสองแตกต่างกัน ทำให้อายุการใช้งานและวิธีการถนอมรักษาแตกต่างกันไปด้วยครับ
รถยนต์เกียร์ธรรมดา
สำหรับการดูแลรักษานั้นก็มีวิธีการดังนี้
1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะทางทุกๆ 20,000 กม.
2. ควรตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ว่ามีปัญหาหรือไม่เช่น Seal ท้ายเกียร์ (จะอยู่ระหว่าง Adepter เกียร์
Main - Transfer Case), Switch เกียร์ถอย,
Seal หน้าแปลนเกียร์ 4 ว่ามีจุดไหนที่เกิดการรั่ว
หรือเปล่า
3. เวลาเดินทางไกล หรือไป Trip ต่างๆ รถของท่าน
อาจ จะต้องลุยน้ำ หลังจากกลับจากการเดินทางให้ตรวจ เช็คสภาพน้ำมันเกียร์ว่ามีน้ำผสมอยู่บ้างหรือไม่ ถ้าหาก มีน้ำผสมอยู่ภายในห้องเกียร์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของ เกียร์สึกหรอได้ง่าย
มาดูกันว่าอาการของเกียร์ Manual ที่มีปัญหาเป็น
อย่างไรกันบ้าง
1. เข้าเกียร์ยาก
2. มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์
3. มีเสียงหอนเวลาวิ่ง
4. ขณะวิ่งเวลาถอนคันเร่งจะมีเสียงดังภายในห้องเกียร์
จากรูปภาพที่นำมาเสนอในครั้งนี้ เป็นชิ้นส่วนที่เสียหาย
ภายในห้องเกียร์ สาเหตุเกิดจาก ปล่อยให้น้ำมันเกียร์
แห้งไม่ได้ระดับ เนื่องจากเกิดการ ของ Seal
และประเก็น และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือ ถังน้ำมัน
เกียร์ หมดสภาพ เพราะ ไม่ได้ตรวจเช็คและเปลี่ยน ถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทาง ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วน ภายในห้องเกียร์สึกหรอและเกิดความ เสียหายได้ง่าย
เพียงแต่ ท่านนำรถยนต์คู่กายของท่านเข้าตรวจเช็ค สภาพและเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ตรงตามระยะทาง หรือทุกๆ 20,000 กม. ตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ประเก็น หากพบปัญหาก็รีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ เท่านี้ก็จะช่วยยืด อายุการใช้งานของเกียร์รถยนต์ของท่านไปได้อีกนาน
รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ
สำหรับการดูแลรักษานั้นก็มีวิธีการดังนี้
เทคนิคการเบื้องต้นในการขับรถเกียร์ธรรมดา
เทคนิคแรก : ทุกครั้งก่อนออกจากรถ ผู้ขับรถควรจะปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างพร้อมทั้งดึงเบรกมือค้างไว้ เพื่อป้องกันการหลงลืมเมื่อมีการไขกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ เพราะเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งไปข้างหน้า หรือถอยหลังอย่างฉับพลัน อันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ สำหรับการ ปลดเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนออกจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถติดนาน ๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการเหยียบเบรก และคลัทช์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย
เทคนิคที่สอง : ควรเหยียบคลัทช์ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง การเหยียบคลัทช์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน
เทคนิคที่สาม : เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ และเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่ต่ำ หรือสูงเกินไป (2,000 ? 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย
เทคนิคที่สี่ : มือใหม่หัดขับ มักพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ต้องขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลว่าจะทำอย่างไรดีเพื่อไม่ให้รถไหลไปชนคันหลัง วิธีง่าย ๆ ก็คือ ปลดเกียร์ว่าง พร้อมกับดึงเบรกมือ และเมื่อจะเคลื่อนตัวให้ผู้ขับเหยียบคลัชท์และเข้าเกียร์ 1 พร้อมที่จะออก แล้วเหยียบคันเร่งช้า ๆ พร้อมกับปลดเบรกมือ รถอาจจะไหลบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่ลาดเอียง มือใหม่หัดขับไม่ต้องตกใจ ออกตัวรถไปตามปกติ
เทคนิคที่ห้า : หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการเหลือบมอง เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ
เทคนิคที่หก : การชะลอรถ/หยุดรถ เมื่อขับมาด้วยความเร็ว ให้ค่อย ๆ แตะเบรก อย่าพึ่งเหยียบคลัทช์ เพื่อให้กำลัง ของเครื่องยนต์เป็นตัวช่วยชะลอรถ (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด ให้เหยียบคลัทช์ และเมื่อรถ หยุดสนิทให้ปลดเกียร์ว่าง พร้อมทั้งดึงเบรกมือเพื่อป้องกันรถไหล
ข้อควรระวังที่มือใหม่หัดขับไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรวางเท้าไว้ที่แป้นคลัทช์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทช์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของลูกปืนคลัทช์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทช์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพาน เพราะจะทำให้คลัทช์ไหม้ หรือคลัทช์ลื่น และอายุการใช้งานของผ้าคลัทช์ก็จะสั้นลงด้วย
เทคนิคการเบื้องต้นในการขับรถเกียร์อัตโนมัติ
ทุกวันนี้รถยนต์โดยทั่วไปบนท้องถนน มักเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ เพราะให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องขับเคลื่อน และชะลอตัว หรือเบรกอยู่บ่อยครั้ง ในการขับขี่รถยนต์เกียร์อัตโนมัตินั้น ผู้ขับขี่ควรจดจำตำแหน่ง และใช้เกียร์แต่ละเกียร์ได้ อย่างถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งเกียร์อัตโนมัติแต่ละตำแหน่ง มีดังนี้
P หมายถึง PARKING เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน โดยล้อรถจะถูกล็อกไว้ ไม่สามารถเข็นได้ เช่น ในการจอดบนทางลาดชัน เมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้ หลังจากเหยียบเบรกจนรถหยุดสนิทแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยเบรก จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อก แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นปล่อยเบรก แล้วดับเครื่องยนต์
R หมายถึง REVERSE เป็นเกียร์สำหรับการถอยหลัง เมื่อต้องการเข้าเกียร์ R จะต้องเหยียบเบรก ให้รถหยุดสนิท จากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อกแล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R แล้วจึงปล่อยเบรก กดคันเร่ง ให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง
N หมายถึง NEUTRAL เป็นตำแหน่งเกียร์ว่างใช้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์หรือต้องการจอดรถทิ้งไว้โดยที่ยังสามารถเข็นได้ หรือเมื่อจอดรถ อยู่กับที่ ในขณะเครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง
D4 หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ใช้ในการขับรถเดินหน้าในสภาพการขับขี่ทั่วไป เช่น การขับรถ ในตัวเมือง รวมทั้งการขับรถด้วยความเร็วสูง ซึ่งการทำงานของเกียร์ D4 จะเป็นไปในลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์ จะเปลี่ยน ขึ้นตามลำดับ จากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติ ตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์และความเร็วของรถ ยิ่งผู้ขับเหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนที่ความสูงขึ้น ตามไปด้วย
ในทางกลับกัน เมื่อลดความเร็ว เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 1
D3 หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด ใช้สำหรับขับรถขึ้นหรือลงเนิน เพื่อป้องกันมิให้เกียร์เปลี่ยนกลับไป กลับมาบ่อยๆ ระหว่างเกียร์ 3 และเกียร์ 4 นอกจากนี้ยังใช้สำหรับกรณีที่ต้องการ ให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลัง เบรกมากขึ้น
ในตำแหน่ง D4 และ D3 หากต้องการเร่งความเร็วอย่างทันทีทันใด เช่น ในเวลาที่ต้องเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ สามารถใช้การ KICK DOWN เหยียบคันเร่งจมติดพื้นเกียร์จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ และทำให้รถพุ่ง ไปข้างหน้าเร็วขึ้น
2 หมายถึงเกียร์ 2 ใช้สำหรับการขับรถลงเขาเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรกมากขึ้น หรือการขับรถขึ้นเขา เพื่อเพิ่มกำลังขับเคลื่อน รวมทั้งการขับบนถนนลื่น และการขับขึ้นจากหล่มโคลนหรือทราย
1 หมายถึงเกียร์ 1 ใช้สำหรับการขับรถขึ้น-ลงเขาสูงชันมากๆ
การเลือกใช้งานของเกียร์อัตโนมัติแต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหาย ต่อระบบขับเคลื่อนแล้วยังให้การขับขี่ที่นุ่มนวลอีกด้วย
|